ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม/ประเพณี/งานประจำปี
ลำดับที่ |
ประเพณี/วัฒนธรรม |
ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ |
ช่วงเวลา |
สถานที่ปฏิบัติ |
|
๑ |
วันบุญประเพณีพระธาตุจำปาหลวง |
พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้มีนายแก้ว (ไม่ทราบนามสกุล) นักบุญนุ่งขาวห่มขาวชาวลำพูน ร่วมกับชาวบ้านทุ่งหลวงสร้างพระธาตุขึ้นองค์หนึ่งโดยให้ชื่อว่า “พระธาตุจำปาหลวง” และได้สร้างศาลาธรรมอีกหนึ่งหลัง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงได้กำหนด วันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๕ เหนือ (กุมภาพันธ์) ของทุกปี เป็นวันบุญประเพณีพระธาตุจำปาหลวง |
เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ในช่วงฤดูหนาว |
-วัดจำปาหลวง หมู่ที่ ๖ |
|
๒ |
งานวันดอกคำใต้งาม |
อำเภอดอกคำใต้ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ จัดงาน วันดอกคำใต้งาม ณ สนามหน้าที่ว่าอำเภอดอกคำใต้ เพื่อสร้างพลังความเข้มแข็งสามัคคี ความสามารถของสตรี ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทักษะ ตลอดจนร่วมสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น |
เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ในช่วงฤดูหนาว |
ที่ว่าการอำเภอดอกคำใต้ |
|
๓ |
วันมาฆบูชา |
วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา เป็นที่รู้กันว่าเป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ได้ประกาศหลักธรรมคำสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลายที่มาประชุมพร้อมกันในวันนั้นนำไปเผยแผ่ |
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ |
ศาสนาสถานในพื้นที่ |
ลำดับที่ |
ประเพณี/วัฒนธรรม |
ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ |
ช่วงเวลา |
สถานที่ปฏิบัติ |
๔ |
ประเพณีวันสงกรานต์ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ |
ประเพณีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ไทย ที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ เป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงามและฝังลึกเข้าไปในชีวิตของคนไทยมานานมีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุให้อยู่เย็นเป็นสุข และกิจกรรมอื่นๆ |
วันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ของทุกปี |
บ้านของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลดอนศรีชุม |
๕ |
วันวิสาขบูชา |
การบูชาในวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขะ หรือเดือน ๖ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวัน พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พุทธศาสนิกชนจะบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรม เวียนเทียน เจริญภาวนาฯ |
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ |
ศาสนาสถานในพื้นที่ |
๖ |
วันเข้าพรรษา (ประเพณีหล่อ/แห่เทียนเข้าพรรษา) |
การเข้าพรรษาเป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ ทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริงๆ ช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา ๓ เดือน มีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ ประเพณีหล่อ/แห่เทียนเข้าพรรษา |
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ |
ศาสนาสถานในพื้นที่ |
ลำดับที่ |
ประเพณี/วัฒนธรรม |
ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ |
ช่วงเวลา |
สถานที่ปฏิบัติ |
๗ |
วันอาสาฬหบูชา |
การบูชาในวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสปตนมฤคทายวัน จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ บรรลุธรรม และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธ-ศาสนาจนถือได้ว่า เป็นวันแรกที่มี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย |
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ |
ศาสนาสถานในพื้นที่ |
๘ |
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (มีกิจกรรมมอบใบประกาศแม่ดีเด่นตำบลดอนศรีชุม) |
วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ผู้ทรงประทานความรัก ความเมตตา และเสียสละความสุขส่วนพระองค์ ส่งเสริมอาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ได้จัดสถานที่ไว้สำหรับ ลงนามถวายพระพร และมีการจัดกิจกรรม/โครงการเทิดพระเกียรติฯ เช่น การบำเพ็ญประโยชน์ รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์พระราชกรณียกิจด้านต่างๆ การจัดนิทรรศการ ประดับธงชาติตามสถานที่ราชการ อาคาร บ้านเรือน ทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ร่วมพิธีถวายพระราชสดุดี ฯ |
วันที่ ๑๒ สิงหาคมของทุกปี |
ที่ทำการอำเภอดอกคำใต้ |
ลำดับที่ |
ประเพณี/วัฒนธรรม |
ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ |
ช่วงเวลา |
สถานที่ปฏิบัติ |
๙ |
ประเพณีสลากภัต |
ประเพณีสลากภัต ภาคเหนือเรียกว่า ประเพณีทานก๋วยสลาก นิยมปฏิบัติกันตั้งแต่เดือน ๑๒ ถึงเดือนยี่ของทุกปี สาเหตุที่ถือปฏิบัติกันเช่นนี้ก็เพราะว่า เป็นช่วงที่ชาวบ้านได้ทำนากันเสร็จแล้ว หยุดพักผ่อน พระสงฆ์ก็จำพรรษาอยู่วัดไม่ได้ไปไหน โดยมีการรวมตัวของคณะศรัทธาทั้งหมู่บ้านนำผลไม้และอาหารคาวหวานรวมทั้งไทยทานต่างๆไปตั้งเป็นกัณฑ์สลากถวายพระภิกษุที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ เป็นประเพณีใหญ่สำหรับหมู่บ้านและวัดนั้น ๆ |
เดือน ๑๒ ถึงเดือนยี่ของทุกปี |
ศาสนาสถานในพื้นที่ |
๑๐ |
วันออกพรรษา |
วันออกพรรษา หมายถึง วันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่ หรือในวัดแห่งเดียวตลอด ๓ เดือน พระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตน เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือและสามัคคีกัน เมื่อออกพรรษาแล้วจะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน พุทธศาสนิกชนจะไปทำบุญทำทาน รักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษ |
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ |
ศาสนาสถานในพื้นที่ |
ลำดับที่ |
ประเพณี/วัฒนธรรม |
ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ |
ช่วงเวลา |
สถานที่ปฏิบัติ |
๑๑ |
ประเพณีลอยกระทง |
ลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญ ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ โดยมีความเชื่อหลายประการ เช่น แสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่เราได้อาศัยน้ำกินน้ำใช้ การขอขมาต่อพระแม่คงคาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงไปในน้ำ การสะเดาะเคราะห์และสิ่งไม่ดีต่างๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอดอกคำใต้ |
วันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๑๒ |
ข่วงวัฒนธรรมเทศบาลเมืองดอกคำใต้ |
๑๒ |
วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (มีกิจกรรมมอบใบประกาศพ่อดีเด่นตำบลดอนศรีชุม) |
วันที่ระลึกคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ พระผู้ทรงกอปรด้วยพระวิริยะอุตสาหะ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่เลือกชาติ ศาสนา ที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารและประเทศชาติ มีความผาสุก และเจริญก้าวยิ่งๆขึ้น องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ได้จัดสถานที่ไว้สำหรับลงนามถวายพระพร และมีการจัดกิจกรรม/โครงการเทิดพระเกียรติฯ เช่น การบำเพ็ญประโยชน์ รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์พระราชกรณียกิจด้านต่างๆ การจัดนิทรรศการ ประดับธงชาติตามสถานที่ราชการ อาคาร บ้านเรือน ทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และร่วมพิธีถวายพระราชสดุดี ฯ |
วันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี |
ที่ว่าการอำเภอดอกคำใต้ |
ลำดับที่ |
ประเพณี/วัฒนธรรม |
ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ |
ช่วงเวลา |
สถานที่ปฏิบัติ |
๑๓ |
งานประเพณีสรงน้ำ พระนอน |
เป็นประเพณีของประชาชนตำบลดอนศรีชุม ที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ เป็นวัฒนธรรมประจำตำบลที่งดงามและฝังลึกเข้าไปในชีวิตของชาวบ้านมานานมีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระนอน และกิจกรรมอื่นๆ ตามแต่ศรัทธา |
เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี |
วัดบ้านทุ่ง |